วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

บทเรียน

บทเรียนเรื่องความรุนแรง



















แผนการสอน




โรงเรียนนาคประสิทธิ์ มูลนิธิวัดบางช้างเหนือ
แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชา                  สุขศึกษาและพลศึกษา        รหัสวิชา      พ32102         ชั้น      มัธยมศึกษาปีที่ 5
หน่วยการเรียนรู้ที่    1   เรื่อง   ความปลอดภัยในชีวิต               จำนวน   10   ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2   เรื่อง ปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย   จำนวน   5  ชั่วโมง
ผู้สอน    นางสาววราภรณ์  ตั้นเหลียง
มาตรฐานการเรียนรู้
5.1 ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติดและความรุนแรง
ตัวชี้วัด
5.1 .4-6/3 วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพหรือความรุนแรงของสังคมไทยและเสนอแนวทางป้องกัน
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.             บอกถึงสาเหตุของความรุนแรงที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ (พ 5.1 .4-6/3)
2.             บอกแนวทางป้องกันความรุนแรงได้ (พ 5.1 .4-6/3)
สาระการเรียนรู้
1.             ความรุนแรงในสังคมไทย
2.             การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย
3.             การใช้ความรุนแรงต่อสตรีและเด็กในสังคมไทย
4.             รูปแบบการใช้ความรุนแรงที่กระทำต่อสตรีและเด็ก
5.             แนวทางป้องกันความรุนแรงที่กระทำต่อสตรีและเด็ก
6.             หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก
สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
                ปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย เกิดขึ้นจากหลายเหตุปัจจัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งตนเอง ครอบครัวและสังคม การป้องกันปัญหาความรุนแรงจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข
ทักษะ / กระบวนการ
-                   ทักษะการคิด  การวิเคราะห์
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
-                   ใฝ่เรียนรู้
สมรรถนะ
-                   ความสามารถในการแก้ปัญหา
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ / วิธีการจัดการเรียนรู้ / เทคนิคการจัดการเรียนรู้
วิธีสอนโดยใช้การ  อภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)และวิธีสอนโดยการใช้สื่อ (Media)
วิธีจัดการเรียนรู้แบบอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)
1.           จัดผู้เรียนเป็นกลุ่มกลุ่มละเท่า ๆ กัน จัดกลุ่มอภิปรายแบบสัมมนา มีจุดประสงค์เพื่อให้สมาชิกร่วมกันศึกษาหาความรู้หรือค้นคว้าในเรื่องที่สนใจ การสนทนาไม่มีการลงมติเป็นเพียงการประมวลความคิดเห็น
2.             ผู้สอนและผู้เรียนกำหนดประเด็นในการอภิปราย
3.             ให้ผู้เรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ หรือความคิดเห็นตามประเด็น
4.             ผู้เรียนสรุปสาระสำคัญ
5.                 ประเมินผลจากการสังเกตพฤติกรรมผู้พูด ผู้ฟัง ในเรื่องการใช้ภาษา การแสดงความคิดเห็น ความเชื่อมั่นในตนเอง มารยาทในการพูดการฟัง และทดสอบด้วยวาจาหรือข้อเขียน
วิธีจัดการเรียนรู้แบบการใช้สื่อ (Media)
1.             บอกวิธีเรียนรู้จากสื่อ เช่น วีดีทัศน์
2.             บอกจุดประสงค์ของการเรียน
3.             ให้นักเรียนดูหรือฟังข้อความรู้จากสื่อ
4.             ซักถามข้อความรู้
5.             ให้นักเรียนสรุปความรู้
6.             ประเมินผลตามจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียน
ภาระงาน
1.           ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน โดยให้แต่ละกลุ่มไปศึกษาเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจริงกับสตรีและเด็ก จากอินเตอร์เน็ต กลุ่มละ 1 เรื่อง จัดทำข้อมูลเป็นรูปเล่มรายงาน และช่วยกันออกแบบรูปเล่มรายงานให้สวยงาม (เนื้อหาการรายงานไม่ต่ำกว่า 10 หน้า ไม่รวมคำนำ สารบัญ) เก็บ 10 คะแนน กลุ่มไหนส่งช้าหักวันละ 1 คะแนน (กำหนดส่งแล้วแต่ความเหมาะสมของครูผู้สอน)
ในหัวข้อการรายงานต้องประกอบไปด้วย
1.             คำนำ
2.            สารบัญ
3.             หัวข้อข่าว  เหตุการณ์นั้นคืออะไร (เนื้อหาของข่าว)
4.             รูปแบบของความรุนแรง เช่น ทางร่างกาย ตามข่าวมีใครโดนกระทำอย่างไรบ้างอธิบาย
5.             ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงในสังคมไทย (ข่าวนั้นอะไรเป็นปัจจัยหลักให้เกิดเหตุการณ์นั้น ๆ )
6.             การป้องกันความรุนแรงทำได้อย่างไร
7.             การแก้ไขปัญหาทำได้อย่างไรบ้าง
8.             รูปภาพประกอบ
9.             บรรณานุกรม
10.      ชื่อสมาชิกภายในกลุ่ม
วิธีการวัดและประเมินผล
วิธีวัดผล / ประเมินผล
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล
เกณฑ์การวัดผล / ประเมินผล
1.  ประเมินผลชิ้นงาน / ใบงาน
1. แบบการนำเสนอผลงาน
1. เกณฑ์ประเมินผลชิ้นงาน / การทำงานกลุ่ม
ช่วงคะแนน
ระดับคุณภาพ
17-20
4 หมายถึง ดีมาก
13-16
3 หมายถึง ดี
9-12
2 หมายถึง พอใช้
5-8
1หมายถึง ปรับปรุง
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
2.การสังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์ใช้เกณฑ์ ดังนี้
ได้ระดับ 3 ดีมาก
ได้ระดับ 2 ดี
ได้ระดับ 1 พอใช้
ได้ระดับ 0 ไม่ผ่านเกณฑ์ / ปรับปรุง
3. การประเมินสมรรถนะใช้เกณฑ์ดังนี้
ได้ระดับ 3 ดีมาก
ได้ระดับ 2 ดี
ได้ระดับ 1 พอใช้
ได้ระดับ 0 ไม่ผ่านเกณฑ์ / ปรับปรุง
2. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
2. แบบสังเกตการทำงานกลุ่ม
3. จากการสังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้านใฝ่เรียนรู้

4.จากการประเมินสมรรถนะ­­ของนักเรียนด้านความสามารถในการแก้ปัญหา


3. แบบสังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้านใฝ่เรียนรู้
4.แบบประเมินสมรรถนะ­­ของนักเรียนด้านความสามารถในการการแก้ปัญหา




แบบประเมินการนำเสนอผลงาน

ลำดับที่
รายการประเมิน
ระดับคะแนน
4
3
2
1
1
นำเสนอเนื้อหาในผลงานได้ถูกต้อง




2
การนำเสนอมีความน่าสนใจ




3
ความเหมาะสมกับเวลา




4
ความกล้าแสดงออก




5
บุคลิกภาพ น้ำเสียง ความเหมาะสม




รวม





แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายกลุ่ม

ลำดับที่
ชื่อ สกุล
ความตั้งใจในการทำงาน
มีความรับผิดชอบ
ตรงต่อเวลา
ความสะอาดเรียบร้อย
ผลสำเร็จของงาน
รวม
20 คะแนน
4
3
2
1
4
3
2
1
4
3
2
1
4
3
2
1
4
3
2
1










































































































































เกณฑ์การให้คะแนน
                                ปฏิบัติสมบูรณ์ชัดเจน                                                         ให้           4              คะแนน
                                ปฏิบัติยังมีข้อบกพร่องในจุดที่ไม่สำคัญ                         ให้           3             คะแนน
                                ปฏิบัติยังมีข้อบกพร่องเป็นส่วนใหญ่                              ให้          2             คะแนน
                                ปฏิบัติไม่ได้เลย                                                                    ให้           1             คะแนน

กิจกรรมการเรียนรู้                                                                                                                                            
                                                                                                                                                                                ชั่วโมง ที่ 1
1.             ครูสำรวจหนังสือแบบเรียนวิชาสุขศึกษา
2.            ครูนำเข้าบทเรียนโดยถามคำถามนักเรียนว่า ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีสาเหตุหลักมาจากอะไรบ้าง สุ่มถามนักเรียนหรือจะถามตอบพร้อมกันทั้งห้องก็ได้
3.             ครูนำวีดีโอตัวอย่างสถานการณ์การใช้ความรุนแรงในสังคม เช่น การยกพวกตีกันบนรถเมล์ คลิปจากเรื่องจริงผ่านจอ เรื่องลูกทรพีทำร้ายแม่ มาให้นักเรียนดู จากนั้นให้นักเรียนวิเคราะห์สรุปสถานการณ์ ในหัวข้อต่อไปนี้ ผ่านเกมความรู้ ลูกบอลเสี่ยงทาย
4.             โดยครูสุ่มเรียกชื่อนักเรียนออกมา 10 คน แล้วจับลูกบอลคำถามคนละลูกโดยยังไม่ต้องแกะคำถามออกมาจากลูกบอล (ให้นักเรียนทั้ง 10 คนเข้าใจว่าตัวเองจะได้ตอบคำถามนั้น)
5.             จากนั้นครูบอกกติกาเพิ่มเติมว่าตัวแทนทั้ง 10 คนที่ออกมานั้น ไม่ใช่ผู้ตอบคำถามแต่เป็นผู้ที่ได้รับเลือกให้โยนคำถามให้เพื่อนในห้องเป็นผู้ตอบคำถามนั้นแทน โดยการโยนนั้น ตัวแทนทั้ง 10 คนจะต้องยืนหันหลังแล้วโยนให้เพื่อนในห้องเป็นผู้ตอบคำถาม                          
6.            ในลูกบอล 10 ลูก จะมีเพียงแค่ 5 ลูกเท่านั้นที่มีคำถามอยู่  อีก 5 ลูกที่เหลือจะเป็นลูกบอลเปล่าไม่มีคำถามใด ๆ 
7.            เมื่อตัวแทนทั้ง 10 คน โยนลูกบอลออกไปแล้ว เพื่อนนักเรียนคนไหนได้รับหรืออยู่ใกล้ลูกบอลมากที่สุดจะต้องถือลูกบอลออกมายืนที่หน้าห้องโดยยังไม่แกะคำถามนั้น
8.            ครูส่งสัญญาณให้นักเรียนที่ได้ลูกบอลแกะคำถามพร้อมกัน ใครที่มีคำถามอยู่ในลูกบอลให้ยืนอยู่หน้าห้องเพื่อสรุปตอบคำถามจากวีดีโอให้ครูและเพื่อนในห้องฟัง
9.            โดยมีคำถามดังต่อไปนี้
1. สถานการณ์ที่เกิดขึ้นคืออะไร (จากที่ได้ดู VDO)
2. ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อในสถานการณ์การใช้ความรุนแรงดังกล่าว คือใคร
2. สาเหตุหลักของการใช้ความรุนแรงคืออะไร
3. ใครได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้บ้าง ได้รับผลกระทบอย่างไร
4. ถ้าไม่ต้องการให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น จะมีแนวทางการป้องกันอย่างไร
        10.  ครูบรรยายเพิ่มเติมผ่าน Power –Point เรื่อง ประเภท รูปแบบของความรุนแรงในสังคมไทย และปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงในสังคมไทย
 ชั่วโมง ที่ 2
1. ครูสำรวจหนังสือแบบเรียนวิชาสุขศึกษา
2.             ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กันเพื่อช่วยกันตอบคำถาม ที่ครูกำหนดปัญหาความรุนแรงที่สำคัญในสังคมไทย ให้ดังต่อไปนี้
-                   ความรุนแรงทางเพศที่เกิดกับผู้หญิงและเด็ก
-                   การใช้ความรุนแรงกับผู้หญิงและเด็ก
-                   ปัญหานักเรียนตีกัน
-                   การฆ่าตัวตาย
-                   เหตุการณ์ความไม่สงบทางภาคใต้
-                   ความรุนแรงทางการเมือง
พร้อมบอกถึง สาเหตุของการใช้ความรุนแรง, ปัจจัยที่ทำให้เกิดความรุนแรง, การป้องกันความรุนแรงนั้น ๆ, การแก้ไขปัญหาทำได้อย่างไรบ้าง, กลุ่มของนักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับปัญหาความรุนแรงนี้
3.             ครูกำหนดเวลาให้นักเรียนในการร่วมกันอภิปรายงานกลุ่ม หลังจากครบเวลาครูให้นักเรียนส่งตัวแทนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
4.             ท้ายชั่วโมงครูสั่งงานให้นักเรียน กลุ่มเดิมที่อภิปรายงานกลุ่ม ไปศึกษาเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจริงกับสตรีและเด็ก จากอินเตอร์เน็ต กลุ่มละ 1 เรื่อง จัดทำข้อมูลเป็นรูปเล่มรายงาน และช่วยกันออกแบบรูปเล่มรายงานให้สวยงาม (เนื้อหาการรายงานไม่ต่ำกว่า 10 หน้า ไม่รวมคำนำ สารบัญ) เก็บ 10 คะแนน กลุ่มไหนส่งช้าหักวันละ 1 คะแนน (กำหนดส่งแล้วแต่ความเหมาะสมของครูผู้สอน) และส่งตัวแทนออกมารายงานหน้าชั้นเรียน โดยการรายงานให้รายงานปากเปล่าห้ามดูเนื้อหาหรือจะรายงานในรูปแบบของละครก็ได้แล้วแต่ความถนัดของนักเรียน แต่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการรายงานครั้งนี้
       ในหัวข้อการรายงานต้องประกอบไปด้วย
1.             คำนำ
2.             สารบัญ
3.             หัวข้อข่าว  เหตุการณ์นั้นคืออะไร (เนื้อหาของข่าว)
4.             รูปแบบของความรุนแรง เช่น ทางร่างกาย ตามข่าวมีใครโดนกระทำอย่างไรบ้างอธิบาย
5.             ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงในสังคมไทย (ข่าวนั้นอะไรเป็นปัจจัยหลักให้เกิดเหตุการณ์นั้น ๆ )
6.             การป้องกันความรุนแรงทำได้อย่างไร
7.             การแก้ไขปัญหาทำได้อย่างไรบ้าง
8.             รูปภาพประกอบ
9.             บรรณานุกรม                                        
10.          ชื่อสมาชิกภายในกลุ่ม
ชั่วโมง ที่ 3
1.             1.               ครูสำรวจความพร้อมของนักเรียนโดยการตรวจหนังสือแบบเรียนวิชาสุขศึกษา
2.             ครูให้นักเรียนเล่นเกม ปัญหาจากลูกบอล (โดยเป็นเกมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดในสังคมไทย)
3.             โดยครูจัดทำลูกบอลขึ้นมา 5 ลูก โดยใช้กระดาษม้วนให้เป็นลูกวงกลม 3 ชั้น และแต่ละชั้นจะมีคำถามอยู่ ที่แตกต่างกันออกไป
4.             โดยครูเป็นคนเริ่มโยนลูกบอลลูกแรกให้ใครในห้องก็ได้ เมื่อนักเรียนคนไหนมีลูกบอลอยู่ในมือให้ยืนขึ้นและอ่านโจทย์คำสั่งและปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด อ่านทุกตัวอักษรที่มีในลูกบอล ( ลูกบอล 1 ลูก อาจจะมีคนตอบคำถามและเล่นเกมได้มากกว่า 3 คน )
5.             ครูเป็นคนคิดโจทย์คำถามนี้ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง
6.              เมื่อโยนลูกบอลทุกลูกครบแล้ว ครูให้นักเรียน เรียนรู้ผ่านสื่อ Power – Point  เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย
7.             ครูสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับอาเซียน เรื่องความรุนแรง ที่มีการจัดโครงการรณรงค์ต่าง ๆ ผ่าน กองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเฟม (UNIFEM) ที่มีประเทศในอาเซียนของเราเข้าร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย และประเทศไทยก็ได้เข้าร่วมในโครงการของ ยูนิเฟม (UNIFEM) นี้ด้วย
ปัจจุบันนี้ มีประเทศคณะกรรมการทั้งหมด 17 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย ออสเตรีย แคนาดา ฟินแลนด์ เยอรมัน ฮังการี ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา  สำหรับประเทศไทยไม่ได้เป็นคณะกรรมการ แต่ UNIFEM ได้มีโครงการหนึ่งที่ประเทศไทยได้มีส่วนร่วม คือ โครงการร่วมต่อต้านการใช้ความรุนแรงกับผู้หญิงโดยในโครงการนี้ มีกิจกรรมทั่วโลก โดยจัดให้ประชากรโลกทุกประเทศ ได้มีการร่วมลงนาม เพื่อแสดงจุดยืนในการสนับสนุน ให้มีการยุติการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี และรณรงค์ให้วาระนี้เป็นวาระเร่งด่วนของโลกเพื่อรณรงค์ยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทุกวันที่ 25 พ.ย.ของทุกปี องค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดให้เป็น วันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง ขึ้น ด้วยเหตุนี้ หลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นกระทรวงยุติธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ยูนิเฟม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิเพื่อนหญิง ตลอดจนเครือข่ายยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง จึงได้รวมพลัง สร้างค่านิยมไม่เพิกเฉยต่อความรุนแรง พร้อมดำเนินโครงการรณรงค์ หนึ่งเสียง หยุดความรุนแรงต่อผู้หญิง โดยได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในการเป็นทูตสันถวไมตรีให้กับกองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติในการต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิง (UNIFEM) ในโครงการ Say NO to Violence Against Women 
8.             ครูสุ่มถามตอบความรู้กับนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อทดสอบความสนใจของนักเรียน

ชั่วโมง ที่ 4
1.             ครูให้นักเรียนออกมานำเสนองานกลุ่มที่ครูให้นักเรียนไปสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับข่าวความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับสตรี
2.              ครูจัดลำดับการรายงานโดยการจับฉลาก
3.             ครูย้ำขั้นตอนการรายงานให้นักเรียนฟังอีกครั้งเกี่ยวกับกติกา ในการรายงานครั้งนี้ คือ การรายงานต้องรายงานปากเปล่า ทุกคนในกลุ่มจะต้องมีส่วนร่วมในการรายงานในครั้งนี้
4.             ครูกำหนดข้อตกลงกับนักเรียนกลุ่มอื่นในขณะที่ฟังเพื่อนรายงาน ว่าห้ามเสียงดัง ถ้ากลุ่มไหนเสียงดังจะหักคะแนนทั้งกลุ่มโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น
5.             เมื่อนักเรียนรายงานครบทุกกลุ่ม ครูบอกข้อเสนอแนะของการรายงานในแต่ละกลุ่มให้นักเรียนฟังเพื่อนำไปปรับใช้ในการนำเสนอในครั้งต่อไป
6.             ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัยในการเรียนการสอนเพิ่มเติม
7.             ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 2 กลุ่ม
ชั่วโมง ที่ 5
1.             ครูสำรวจหนังสือแบบเรียนวิชาสุขศึกษา
2.            ครูนำเข้าบทเรียนโดยถามคำถามนักเรียน
-              ถ้านักเรียนเดินเข้ามาในโรงเรียนแล้วเจอเพื่อนกำลังด่าทอและชกต่อยกันนักเรียนจะมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
-             นักเรียนรู้จักหน่วยงานใดบ้างที่ให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก
3.            ครูให้นักเรียน เรียนรู้ผ่าน Power –Point เรื่องหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก
4.            ครูให้นักเรียนดู วีดีโอ เกี่ยวกับบ้านพักฉุกเฉิน
5.            ครูสรุปรวบรวมประเด็นจากที่ดูวีดีโอให้นักเรียนเข้าใจเพิ่มมากขึ้น
6.            ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กันวิเคราะห์สถานการณ์ที่ครูกำหนดให้แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
สถานการณ์
Ø ณ ห้องสมุดของโรงเรียนแห่งหนึ่ง เด็กชายดำกำลังทำงานอยู่อย่างสงบบนโต๊ะในห้องสมุด และมีเอกสาร ตำราต่าง ๆ วางอยู่มาก และทำงานบริเวณนั้นมาประมาณ 2 ชั่วโมงแล้ว เด็กชายแดงเดินเข้าห้องสมุดมาเพื่ออ่านหนังสือ นั่งอ่านหนังสืออยู่ได้สักครู่ก็รู้สึกอึดอัดจึงลุกไปเปิดพัดลม ทันใดนั้น ลมก็พัดเอกสารของเด็กชายดำปลิดกระจัดกระจาย ทำให้เด็กชายดำไม่พอใจเป็นอย่างมากและต่อว่าเด็กชายแดง ทั้งสองคนจึงได้โต้เถียงกันจนรบกวนผู้อื่น ต่างคนต่างไม่ยอมรับเรื่องเปิดและปิดพัดลม
คำถาม
Ø จากสถานการณ์ดังกล่าว หากนักเรียนเป็นครูบรรณารักษ์ห้องสมุด นักเรียนจะแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยวิธีใด เพราะเหตุใด (ให้นักเรียนบอกประเภท, รูปแบบ, ปัจจัย, การป้องและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงนั้น ๆ มาอย่างละเอียด) จากนั้นให้ส่งตัวแทนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
7.             ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียนร่วมกัน
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
1.             หนังสือเรียนวิชา สุขศึกษา ม. 5
2.             สไลด์ ประกอบด้วย เนื้อหา และรูปภาพความรุนแรง
3.             ลูกบอลคำถามเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงและการป้องกันความรุนแรง
4.             VDO เรื่องจริงเกี่ยวกับความรุนแรงในสังคมไทย และต่างประเทศ
5.             VDO เกี่ยวกับบ้านพักฉุกเฉิน
6.             ฉลากลำดับเลขที่การรายงาน
7.             ใบงาน

ใบงาน

สถานการณ์
Ø ณ ห้องสมุดของโรงเรียนแห่งหนึ่ง เด็กชายดำกำลังทำงานอยู่อย่างสงบบนโต๊ะในห้องสมุด และมีเอกสาร ตำราต่าง ๆ วางอยู่มาก และทำงานบริเวณนั้นมาประมาณ 2 ชั่วโมงแล้ว เด็กชายแดงเดินเข้าห้องสมุดมาเพื่ออ่านหนังสือ นั่งอ่านหนังสืออยู่ได้สักครู่ก็รู้สึกอึดอัดจึงลุกไปเปิดพัดลม ทันใดนั้น ลมก็พัดเอกสารของเด็กชายดำปลิดกระจัดกระจาย ทำให้เด็กชายดำไม่พอใจเป็นอย่างมากและต่อว่าเด็กชายแดง ทั้งสองคนจึงได้โต้เถียงกันจนรบกวนผู้อื่น ต่างคนต่างไม่ยอมรับเรื่องเปิดและปิดพัดลม
คำถาม
Ø จากสถานการณ์ดังกล่าว หากนักเรียนเป็นครูบรรณารักษ์ห้องสมุด นักเรียนจะแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยวิธีใด เพราะเหตุใด (ให้นักเรียนบอกประเภท, รูปแบบ, ปัจจัย, การป้องและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงนั้น ๆ มาอย่างละเอียด)
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………